สถิติ
เปิดเมื่อ16/09/2013
อัพเดท19/09/2013
ผู้เข้าชม362164
แสดงหน้า447480
บทความ
การประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน/ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
คำอธิบายรายวิชา ง 30289การประชาสัมพันธ์
MY PROFILE
ประวัติส่วนตัว
WEBSITE
วิธีเขียนบทความใน website
วิธีการสมัครเว็ปไซด์
วิธีตกแต่งเว็บไซต์
บทความทั่วไป
มอก. คือ
เครื่องหมาย มอก.
มาการอง หลากสี ... พร้อมสูตร Microwave Lemon Curd
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์

อ่าน 10683 | ตอบ 2



สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนที่ 1  เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์           

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้  มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้

                 ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
       1.    บอกความหมายของการประชาสัมพันธ์ ได้  
       2.    บอกความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ได้ 
       3.    บอกประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานได้ 
       4.     สามารถเขียนผังมโนทัศน์ ความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ ของการประชาสัมพันธ์ได้
 ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ

        1.     มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    
        2.     มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 
        3.     มีคุณธรรม รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ

        1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประชาสัมพันธ์  
        2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                      3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้   
              สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์
 ความหมายของการประชาสัมพันธ์
                นักวิชาการและนักวิชาชีพ ด้านการประชาสัมพันธ์ได้ให้ความหมายของคำว่า การประชาสัมพันธ์ ดังนี้
 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย 'การประชาสัมพันธ์' ว่า การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน
                 วิรัช ลภิรัตนกุล คำว่า 'การประชาสัมพันธ์'  หากวิเคราะห์ตามรูปศัพท์แล้ว เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า 'Public Relations'
                 Public แปลว่า ประชา ได้แก่ ประชาชน สาธารณชน กลุ่มชน
                Relations แปลว่า สัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องด้วยหรือการผูกพัน
                ดังนั้น คำว่าการประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สาธารณชนหรือกลุ่มชน
                หนังสือศัพทานุกรมสื่อสารมวลชนได้ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามแผนที่ได้วางไว้ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาในบุคคลและสถาบัน การประชาสัมพันธ์อาจแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การประชาสัมพันธ์โรงเรียน   การประชาสัมพันธ์สำหรับโรงพยาบาล   การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย การบวนการ 4 ประการ คือ การค้นคว้าหาข้อมูล การวางแผน การสื่อสารและการติดตามผลประเมินผล
                ความหมายของนักวิชาชีพ
                ไอวีแอล ลี (Ivy Ledbetter Lee) นักวิชาชีพทางด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นบิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ ได้ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า การดำเนินงานอะไรก็ตามได้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนเผยแพร่ออกไปให้ประชาชนได้เข้าใจถึงการดำเนินงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ประชาชนจะให้การสนับสนุนผลงานนั้น
                ความหมายของนักวิชาการ
                เอ็ดเวิร์ด แอล เบอร์เนย์   (Edward L. Bernays)   นักประชาสัมพันธ์ที่นำผลงานประชาสัมพันธ์เข้าสู่ สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1923 แสดงความคิดว่าการประชาสัมพันธ์มีความหมาย 3 ประการด้วยกั คือการอ้างถึงใน วิรัช ลภิรัตนกุล
            1.  เผยแพร่ชี้แจงให้ประชาชนทราบ
            2.  ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย และเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
            3.  ประสานความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
                อาจารย์สะอาด ตัณศุภผล อ้างในวิรัช ลภิรัตนกุล ให้คำจำกัดความว่า การประชาสัมพันธ์ คือ วิธีการของสถาบันอันมีแผนการและการกระทำที่ต่อเนื่องกัน ในอันที่จะสร้างหรือพึงให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชนเพื่อให้สถาบัน อันจะเป็นประโยชน์ให้สถาบันนั้น ๆ ดำเนินงานไปได้ผลดี สมความมุ่งหมาย โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐานสำคัญด้วย
                จากคำจำกัดความดังกล่าว อธิบายได้ ดังนี้
                1.  คำว่า สถาบัน (Institution on organization) คือ กิจการที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้จัดทำขึ้นโดยประสงค์ที่จะดำเนินการใด ๆ ในสังคมให้ลุล่วงไปตามความปราถนาของบุคคลหรือคณะบุคคลนั้น กิจการต่าง ๆ   เช่น กิจการด้านการปกครอง  สถาบันก็อาจมีรูปเป็นรัฐบาล   กระทรวง   ทบวง กรม    และหน่วยราชการต่าง ๆ   ถ้าเป็นกิจการด้านสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ องค์การสาธารณะกุศลต่าง ๆ เช่น มูลนิธิ หรือสภาสงเคราะห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีกิจการด้านธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร รวมทั้งสถาบันการศึกษาด้วย เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน เป็นต้น หน่วยงาน และองค์การสถาบันเหล่านี้จะต้องดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของสถาบันดังกล่าวข้างต้นจะต้องดำเนินงานถูกต้องตามกฏหมายมีระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับและเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
                2. คำว่า กลุ่มประชาชน (The Public) หมายถึง กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน กลุ่มประชาชน อาจแบ่งตามลักษณะต่าง ๆ เช่น ความสนใจ ระดับการศึกษา ความรู้ เพศ วัย ฐานะ และ รายได้ ฯลฯ   กลุ่มของประชาชนจะเป็นกลุ่มใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของสถาบันนั้น ๆ
                 กลุ่มของประชาชน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
           2.1 กลุ่มประชาชนภายนอก (External Public) ได้แก่ กลุ่มประชาชนภายนอก องค์การหรือสถาบันและสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริโภค ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ฯลฯ
            2.2 กลุ่มประชาชนภายใน (Internal Public) ได้แก่ กลุ่มประชาชนภายในองค์การ หรือสถาบัน  เช่น  เจ้าหน้าที่ขององค์การ กลุ่มพนักงาน
                กลุ่มประชาชนดังกล่าวข้างต้น มีความสำคัญต่อสถาบันมากเพราะมีอิทธิพลที่จะทำให้สถาบันเจริญก้าวหน้า ถ้าเขาให้ความร่วมมือและสนับสนุน   ตรงกันข้าม   ถ้าไม่ให้ความร่วมมือสถาบันก็ไปไม่รอด      ดังนั้นส ถาบันจะต้องยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับกลุ่มประชาชนและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของกิจการ
                3. คำว่า ความสัมพันธ์อันดี (Good Relationship) ได้แก่  ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างองค์การ  สถาบันกับกลุ่มประชาชนของตน กิจการใด ๆ ของสถาบันที่ได้จัดทำขึ้นนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งสถาบัน จนกระทั่งได้ดำเนินงานใด ๆ ของสถาบันไป ควรจะให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกล่าวคือ ทำให้กลุ่มประชาชนมีความนิยม เกิดความพึงพอใจความเข้าใจในนโยบาย และการดำเนินงานของสถาบัน รวมทั้งเต็มใจที่จะให้ความสนับสนุนร่วมมือด้วย การที่จะให้ดำเนินงานได้ผลดีเช่นนั้น   องค์การสถาบันจำต้องศึกษาถึงสภาพของกลุ่มประชาชนตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ   ที่ประชาชนมีต่อสถาบันและกิจการของสถาบัน สรุปแล้วก็คือ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี (Good Understanding)  ซึ่งกันและกันนั่นเองเมื่อเกิดความเข้าใจอันดี หรือความสัมพันธ์อันดีแล้วโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนก็จะติดตามมา
                4. คำว่า ประชามติ (Public Opinion) คือความคิดเห็นของกลุ่มประชาชน ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญร่วมมือ ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลย่อมมีความเห็นต่อสิ่งเดียวกันหรือสถาบันแตกต่างกันหรือเหมือนกัน   ดังนั้นสถาบันควรศึกษาความคิดเห็นของประชาชน สนใจหรือเห็นด้วยให้ความสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน  โดยการคัดค้านหรือมีปฏิกริยาโต้ตอบ เมื่อสถาบันได้ศึกษาสภาพความคิดเห็นของประชาชนแล้วก็จะได้หาทางแก้ไขความคัดแย้ง หรือความ เข้าใจผิดของประชาชนบางคนในกลุ่มให้หมดไป
                ความหมายของสมาคม
                สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา (Public Relation Society of America; PRSA) อ้างในวิรัช    ลภิรัตนกูล ได้ให้คำจำกัดความของการประชาสัมพันธ์ไว้ว่า การประชาสัมพันธ์ เป็นอาชีพที่ให้บริการผลประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฏหมายแก่บรรดาลูกจ้างและผู้ว่าจ้าง     อาชีพการประชาสัมพันธ์จึงมีวัตถุประสงค์พื้นฐานอยู่ที่ความ เข้าใจร่วมกัน และความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และสถาบันสังคม
                สถาบันการประชาสัมพันธ์แห่งสหราชอาณาจักร  (The  British in Stitute of Public Relations)   ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า การประชาสัมพันธ์ คือ การกระทำที่มีการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบและมีความหมายไม่ลดละ เพื่อสร้างสรรค์และธำรงไว้ซึ่งความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง                          
 
ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
        งานประชาสัมพันธ์เป็นงานสื่อสัมพันธ์ที่มีความสำคัญ และเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง  มีระบบงานที่ซับซ้อนแต่งานประชาสัมพันธ์จะช่วยส่งเสริมลักษณะความเป็นผู้นำขององค์การและบุคคล ทั้งยังช่วยให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือทั้งจากพนักงานภายในและจากประชาชนภายนอกด้วย นับว่างานประชาสัมพันธ์มีคุณค่าต่อสถาบันต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพอจะสรุปความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
        1. การประชาสัมพันธ์ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างค่านิยมของหน่วยงานได้ดีขึ้น หมายถึง การสร้างความรู้สึกประทับใจที่บุคคลหลาย ๆ กลุ่มมีต่อหน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งลูกจ้าง  ลูกค้า  ผู้บริโภค ชุมชน  พ่อค้าและรัฐบาล โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มชนเหล่านี้ เผยแพร่ชี้แจงข่าวสารให้ประชาชนเห็นคุณความดีให้เกิดความเลื่อมใสและสร้างความผูกพันทางใจ เช่น การที่หน่วยงานประสบความสำเร็จมีกำไรพอควร และแบ่งส่วนของกำไรให้กับพนักงานในรูปของเงินเดือนที่สูงพอควร ตลอดจนมีสวัสดิการต่าง ๆ   ให้เหมาะสมตามอัตภาพ    ขณะเดียวกันก็เป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน เป็นเพื่อนบ้านที่ดี มีนโยบายส่งเสริมพนักงานให้มีตำแหน่งและความรับผิดชอบสูง มีการฝึกอบรมและพัฒนาพักงาน
        2.  การประชาสัมพันธ์ช่วยป้องกันรักษาชื่อเสียงของหน่วยงาน หมายถึง มีการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง รวมทั้งสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนแล้วโอกาสที่ประชาชนจะได้รับความไม่สะดวก เกิดความเข้าใจผิด หรือมองในแง่ร้ายซึ่งจะเป็นผลในการนำไปวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดเสียชื่อเสียงย่อมไม่มี หรือมีน้อยมากเพราะเรา ได้ตรวจสอบความคิดเห็นทัศนคติของประชาชนและทำการปรับปรุงอยู่เสมอ
        3.  การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง    ทำให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานและฝ่ายบริหาร เพราะ  การประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง     ด้วยการให้ข่าวสารข้อเท็จจริงและความถูกต้อง มิได้เป็นการจูงใจหรือการโฆษณาชวนเชื่อด้วยกลวาจา ย่อมทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกับฝ่ายบริหารขึ้น
        4.  การประชาสัมพันธ์ช่วยการขายและการตลาด    การประชาสัมพันธ์เป็นการปูพื้นค่านิยม ทัศนคติที่ดีให้เกิดกับหน่วยงานเมื่อประชาชนมีค่านิยม ความรู้สึกที่ดีแล้วก็มีใจพร้อมที่จะรับฟังข่าวสาร การโฆษณาสินค้า หรือบริการต่างๆ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการอยากได้และตัดสินใจซื้อในที่สุด       ประชาสัมพันธ์ที่มีการตรวจสอบทัศนคติ ความคิดเห็น ค่านิยมของกลุ่มเป้าหมาย ยังช่วยให้ฝ่ายการตลาดวางแผนงาน ตั้งแต่ผลิตสินค้า จัดจำหน่าย โฆษณา ฯลฯ ได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วย                   
 
ประเภทของการประชาสัมพันธ์
        โดยทั่วไปการประชาสัมพันธ์ อาจแบ่งตามลักษณะงานกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
        1.  การประชาสัมพันธ์ภายใน (Internal Public Relations) คือ การสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มบุคคลภายในสถาบันเอง อันได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ เสมียน พนักงาน ลูกจ้าง รวมตลอดจนถึงนักการภารโรง คนขับรถภายในองค์การสถาบันให้เกิดมีความรักใครกลมเกลียว สามัคคีกันในหมู่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งด้านการเสริมสร้างขวัญ และความรักใครผูกพัน จงรักภักดี (Loyalty) ต่อหน่วยงาน
        การประชาสัมพันธ์ภายใน จึงมีความสำคัญมาก การประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์การ สถาบันจะดีไปไม่ได้เลยหากการประชาสัมพันธ์ภายในองค์การสถาบันยังไร้ประสิทธิภาพ เพราะความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงานจะมีผลสะท้อนไปกับการสร้างความสัมพันธ์ภายนอกด้วย และการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงานยังเอื้ออำนวยให้การบริการ และการดำเนินงานขององค์การสถาบันเป็นไปด้วยความราบรื่น คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการที่พนักงาน ลูกจ้างภายในสถาบันมีความเข้าใจในนโยบาย และการดำเนินงานของสถาบันเป็นอย่างดี ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้าง ประสิทธิภาพแก่การประชาสัมพันธฺภายนอกด้วย
        สำหรับสื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ภายในนั้น อาจใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา แบบซึ่งหน้า (Face of Face) หรืออาจใช้สิ่งพิมพ์ภายในองค์การ (House Journal) ช่วย เช่น หนังสือเวียน จดหมายของภายใน วารสารภายใน เป็นต้น
        2.  การประชาสัมพันธ์ภายนอก (External Public Relations) คือ การสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนภายนอก กลุ่มต่าง ๆ อันได้แก่ประชาชนทั่วไป และประชาชนที่องค์การสถาบันเกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำความคิดเห็น ผู้นำในท้องถิ่น ลูกค้า ผู้บริโภค รวมทั้งชุมชนละแวกใกล้เคียง ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้เกิดความรู้ ความเข้าใจในตัวสถาบัน และให้ความร่วมมือแก่สถาบันด้วยดี
        การทำการประชาสัมพันธ์ภายนอกต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนที่มีกลุ่มขนาดใหญ่ หรือจำนวนมาก จึงอาจใช้เครื่องมือ สื่อสารต่าง ๆ เข้ามาช่วยเผยแพร่กระจายข่าวสู่สาธารณชนด้วย อันได้แก่ สื่อมวลชน (Mass Media) เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน องค์การ สถาบันต่าง ๆ ก็นิยมใช้เครื่องมือสื่อสารมวลชนเหล่านี้เข้าช่วยในการประชาสัมพันธ์     
 
 
 
วัตถุประสงค์ทั่วไปของการประชาสัมพันธ์
        1. เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
        2.  เพื่อปกป้อง  และรักษาชื่อเสียงสถาบันมิให้เสื่อมเสีย
        3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ภายใน
 วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  สถาบัน  องค์การต่างๆ
        
1. เพื่ออธิบายถึงนโยบาย  วัตถุประสงค์  การดำเนินงาน  และประเภทของการดำเนินธุรกิจของหน่วยงานนั้นๆ  ให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง
        2. เพื่ออธิบายให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ  (management)  ได้ทราบถึง  ทัศนคติ  มติ  หรือความรู้สึก นึกคิดของประชาชนที่มีต่อหน่วยงาน
        3. เพื่อคาดการณ์ล่างหน้าและค้นหาจุดบกพร่องต่างๆ  เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน
        4. เพื่อให้ประชาชนยอมรับ  ซึ่งถ้าเป็นหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน  เช่น  บริษัทห้างร้าน  เพื่อให้ลูกค้ายอมรับในบริษัทตน  รวมทั้งยอมรับในผลิตภัณฑ์และบริการที่บริษัทจำหน่ายอยู่  ทั้งมีส่วนเพิ่มปริมาณการขายทางอ้อม
        5. เพื่อทำหน้าที่ขจัดปัญหาต่างๆ ภายในหน่วยงาน
        6. เพื่อแนะนำฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเพื่อความเจริญก้าวหน้าและชื่อเสียงที่ดีของหน่วยงาน
 วัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติ
        
1. เพื่อดึงดูดความสนใจ
        2. เพื่อสร้างความเชื่อถือ
        3. เพื่อสร้างสรรค์ความเข้าใจ
        ซึ่งทั้งสามประการนี้จะทำให้องค์การสถาบันสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้  นั้นคือประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสนใจ  เชื่อถือ  และความเข้าใจให้แก่ประชาชนพร้อมทั้งโน้นน้าวชักจูงให้ประชาชนเห็นด้วยกับการกระทำขององค์การสถาบัน
หลักการประชาสัมพันธ์
        การประชาสัมพันธ์  ในปัจจุบันมีหลักใหญ่ๆ สำคัญๆ อยู่  3  ประการด้วยกันคือ
        1. การบอกกล่าวหรือชี้แจงเผยแพร่ให้ทราบ การบอกกล่าวชี้แจงหรือเผยแพร่ให้ทราบนี้  คือ  การบอกกล่าวชี้แจงให้ประชาชนทราบถึง
              1) นโยบาย
              2) วัตถุประสงค์
              3) การดำเนินงาน
              4) ผลงาน  บริการ  และกิจกรรมต่างๆ  ตลอดจนข่าวคราวความเคลื่อนไหวขององค์การสถาบันให้ประชาชน  และกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้ทราบและรู้เห็นถึงสิ่งดังกล่าว  ซึ่งนับเป็นการปูพื้นฐานแห่งความเข้าใจในองค์การสถาบัน  ทำให้สถาบันเป็นที่รู้จัก  เข้าใจ  และเลื่อมใส  ตลอดจนทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่เป็นไปในทางที่ดีต่อองค์การสถาบัน
        2. การป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด การป้องกันความเข้าใจผิดนี้  ทางด้านวิชาการประชาสัมพันธ์ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกัน (Preventive Relation) ซึ่งมีความสำคัญมาก  เพราะการป้องกันไว้ก่อนย่อมมีผลดีกว่าที่จะต้องมาทำการแก้ไขในภายหลัง  ฉะนั้น การป้องกันความเข้าใจผิดจึงเป็นการกระทำที่ป้องกันมิให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันบังเกิดความเข้าใจผิดในตัวสถาบันได้  
        ประเภทของการแก้ไขความเข้าใจผิด
              1. การแก้ไขความเข้าใจผิดทางตรง  คือการออกคำแถลง  ถ้อยแถลง  แถลงการณ์หรือประกาศ  ชี้แจงแก้ความเข้าใจผิดนั้นไปยังกลุ่มประชาชนเพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง  วิธีการแก้ไขความเข้าใจผิดวิธีนี้จึงเป็นวิธีแก้อย่างตรงไปตรงมา  กล่าวคือ  ความจริงมีอยู่อย่างไรก็แถลงไปตามนั้น  อย่างไรก็ตาม  การแก้ไขความเข้าใจผิดทางตรง
              2. การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อม  การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อมนี้ส่วนมากใช้ความเข้าใจผิดบางประการที่ไม่สมควรใช้วิธีการแก้ไขทางตรง  เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายมากกว่าผลดี  การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อมนี้  จึงมิใช่การออกประกาศชี้แจง  หรือแถลงการณ์เหมือนวิธีแรก  แต่เป็นการกระทำ (deeds) ให้ประชาชนได้เห็นประจักษ์แก่ตนเอง  เพื่อลบล้างความเข้าใจผิดหรือข่าวลืออกุศลดังกล่าวเสีย  ตัวอย่างเช่น  มีข่าวลือหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสกปรกในการผลิต  การบรรจุหีบห่อของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท  ก็อาจจะแก้ไขความเข้าใจผิดด้วยการกระทำและแสดงให้เห็นข้อเท็จจริง  โดยการเชิญสื่อมวลชนหรือตัวแทนกลุ่มประชาชนที่เข้าใจผิดเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานหรือบริษัท  หรือชมกรรมวิธีในการผลิต  การบรรจุหีบห่อของสินค้า  เป็นการลบล้างความเข้าใจผิดไปในตัว
        3. การสำรวจประชามติ  หลักที่สำคัญของการประชาสัมพันธ์อีกประการหนึ่งก็คือ  จะต้องมีการสำรวจวิจัยประชามติ  เพราะองค์การสถาบันจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องรู้ซึ้งถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชน  หรือที่เรียกว่าประชามติ (Public Opinion) จะต้องทราบว่าประชาชนต้องการอะไร  ไม่ต้องการอะไร  ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งไหน  ตลอดจนท่าทีต่างๆ ที่ประชาชนมีต่อองค์การสถาบันของเรา  ซึ่งจะทราบได้จากการสำรวจวิจัยประชามติ  เพื่อองค์การสถาบันจะสามารถตอบสนองสิ่งต่างๆ ให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของประชาชน
 
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบสังคม
        มนุษย์มักจะรวมกลุ่มกันอยู่ในสังคม การรวมกลุ่มกันจะกลายเป็นสังคมชาติเพราะมนุษย์จะมีความรู้สึก ความคิดเห็นในแนวเดียวกัน ซึ่งเราเรียกว่าเป็นความรู้สึกร่วม ร่วมที่จะเป็นกลุ่มเดียวกัน มีความประพฤติเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ยอมรับนับถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเดียวกัน  
        การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการที่ไม่เพียงแต่มุ่งเผยแพร่ข่าวสารจากกลุ่มสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่งแต่เพียงด้านเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้กลุ่มสังคมต่าง ๆ เข้ามาพิจารณาตัดสินคุณค่าของสังคม ช่วยให้ความคิดและเป้าหมายรวมทั้งความต้องการร่วมกัน บรรลุสู่ทิศทางเดียวกันและเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น
         ในยุคโลกาภิวัฒน์ การประชาสัมพันธ์ทำให้สังคมกลายเป็นสังคมที่มีการรับรู้ข่าวสารเหมือนกัน มีความเข้าใจร่วมกันเกิดความรู้สึกเข้าใจ และเห็นใจระหว่างกลุ่มสังคมทำให้เกิดความรู้สึกเสียสละ อดทนและเกิดความมั่นคงขึ้นในสังคม ผลก็คือทำให้ประชาชนในสังคม สามารถช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองและสังคมอย่างก้าวหน้าด้วยความร่วมมือของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมนั่นเอง
 
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจ
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ หมายถึง งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจัดจำหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน
        จากความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ ดังกล่าวนั้น ความหมายของคำว่า ระบบเศรษฐกิจ ก็คืองานอันเกี่ยวกับการผลิต การจัดจำหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนนั่นคือ การทำธุรกิจและอุตสาหกรรมนั่นเอง
        ในการประกอบธุรกิจ และอุตสาหกรรมนั่นถือว่าการประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการจัดการหรือการบริหารการทำธุรกิจ และอุตสาหกรรมจะมั่นคง รวมทั้งได้รับการร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนก็ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อชี้แจง แถลงข้อเท็จจริงให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบถึงวัตถุประสงค์และนโยบายของหน่วยงาน หรือเพื่อติดต่อหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  เข้ามาช่วยตัดสินในการดำเนินกิจการของธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
        การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นแก่หน่วยงานสินค้า และบริการ ทำให้ประชาชนเกิดความนิยมและไว้วางใจหน่วยงาน และเกิดนิยมสินค้าและบริการ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนในการดำเนินงานจากกกลุ่มต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานเป็นไปด้วยความราบรื่น และเกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจเสรีเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการที่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
 
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบการเมือง
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า การเมือง หมายถึง
        1. งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่ วิชาว่าด้วยรัฐการจัดส่วนแห่งรัฐและการดำเนินงานของรัฐ
        2. การบริหารประเทศ เฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ
        3. กิจการอำนวย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตำแหน่งการเมือง ได้แก่ ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฏร) การบริหารแผ่นดิน
        ตามที่ได้เข้าใจความหมายของการประชาสัมพันธ์ไปแล้วนั้น เมื่อได้มาพิจารณาถึงบทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบการเมืองตามความหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้
        1. บทบาทของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่องานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน การประชาสัมพันธ์ต้องมีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารสร้างศรัทธา สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรหน่วยงานและสถาบันของรัฐ เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างองค์กร หน่วยงานสถาบันของรัฐกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่วนแห่งรัฐ และการดำเนินการขององค์กร หน่วยงานและสถาบันของรัฐ
        2. บทบาทของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อการบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ การประชาสัมพันธ์ต้องมีบทบาทในการที่จะให้ประชาชนได้ทราบและเข้าใจความมุ่งหมายเกี่ยวกับการบริหารประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ และนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งต้องใช้ระบบการประชาสัมพันธ์แบบยุคลวิธี (Two-ways communications) คือการบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบถึงนโยบายและการดำเนินงานการดำเนินตามนโยบายประเทศ ขณะเดียวกันก็รับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย ด้วยเหตุผลเพื่อให้ทั้งประชาชนและผู้บริหารประเทศได้ปรับแนวความคิดให้ตรงกันและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและเกิดความมั่นคงทางการเมืองและแรงจูงใจในการพัฒนาประเทศตลอดทั้งการสร้างความสัมพันธ์อันดีในการเมืองระหว่างประเทศ
        3. บทบาทของการประชาสัมพันธ์ที่ดีต่อกิจการอำนวย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การประชาสัมพันธ์เป็นกลไกที่สามารถอำนวยประโยชน์แก่กิจการทุกอย่างที่มีการติดต่อระหว่างกลุ่มประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการได้โดยสะดวก ช่วยให้ประชาชนเข้าใจปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลในการทำกิจการอำนวย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การประชาสัมพันธ์จะช่วยให้รัฐบาลสามารถติดต่อสื่อสารกับประชาชนได้ ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องความเข้าใจผิดที่จะเกิดขึ้นกับการบริหารราชการแผ่นดิน สามารถทำให้รัฐบาลได้เข้าใจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารราชการแผ่นดินอีกด้วย
        ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น การที่จะให้ประชาชนได้ทราบและเข้าใจความมุ่งหมายในนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐบาลก็ต้องมีการประชาสัมพันธ์สองทาง คือ บอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบถึงนโยบายและการดำเนินงาน ขณะเดียวกันก็รับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้ปรับแนวความคิดให้ตรงกัน และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทำให้เกิดความรู้สึกในทางร่วมกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
http://thitisan1.myreadyweb.com/article/topic-17248.html
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
how to choose a real estate agent how to find a real estate agent how to choose a real estate agent real estate agent reviews Real Estate Leads country homes for sale how to choose a real estate agent find real estate agent Boca Raton real estate how to find a real estate agent how to choose a real estate agent how to find a real estate agent real estate agent houses for sale homes for sale real estate agent real estate agent brand new homes for sale top real estate agents homes for sales Boca Raton real estate best real estate agents find a real estate agent find real estate agent real estate real estate beach houses for sale cheap homes for sale real estate agents near me house for sale Charleston SC real estate brand new homes for sale find homes for sale find real estate agent Miami real estate real estate agent Charleston SC real estate real estate agent house Austin Texas real estate home for sale beach house for sale Fannie Mae homes for sale houses foreclosed homes for sale how to choose a real estate agent Fannie Mae homes for sale homes for sale by map how to get real estate leads finding a real estate agent find a real estate agent local real estate agents real estate how to find a real estate agent big homes for sale houses for sale in Florida homes for sale by map Real Estate Leads houses for sale near me real estate agent beachfront homes for sale real estate agents near me real estate agent reviews houses for sale in Florida local real estate agents homes for sales houses for sale near me real estate agent reviews real estate realtor leads how to find a real estate agent real estate agents bay area homes for sale find a real estate agent how to get real estate leads top real estate agents bank owned homes for sale top real estate agents homes for sale in Hawaii Real Estate Leads real estate agents cheap homes for sale Florida homes for sale beach houses for sale finding a real estate agent real estate agent reviews local real estate agents house real estate agents bank owned homes for sale real estate lead generation real estate agent reviews beautiful homes for sale find real estate agent find real estate agent realtor leads Real Estate Leads real estate agent contemporary homes for sale foreclosure homes for sale find a real estate agent Alaska real estate country homes for sale Fannie Mae homes for sale how to choose a real estate agent find real estate agent beach houses for sale realtor leads beautiful homes for sale foreclosure homes for sale real estate find real estate agent house for sale real estate agents Real Estate Leads homes for sale in Hawaii real estate agents near me real estate lead generation beach house for sale find a real estate agent houses for sale near me real estate beach house for sale bay area homes for sale real estate real estate agents near me beach homes for sale real estate agent finding a real estate agent beachfront homes for sale big homes for sale real estate lead generation Alaska real estate real estate agent reviews historic homes for sale how to find a real estate agent contemporary homes for sale how to find a real estate agent historic homes for sale craftsman style homes for sale local real estate agents houses for sale === how to find a real estate agent craftsman style homes for sale local real estate agents how to choose a real estate agent bank owned homes for sale FHA approved homes for sale real estate agent reviews finding a real estate agent homes for sale DC brand new homes for sale find a real estate agent finding a real estate agent contemporary homes for sale real estate agent real estate agents historic homes for sale beachfront homes for sale craftsman style homes for sale beach homes for sale Charleston SC real estate real estate find a real estate agent Florida real estate best real estate agents local real estate agents finding a real estate agent homes for sale by map real estate real estate agent reviews how to choose a real estate agent how to get real estate leads house for sale finding a real estate agent cheap homes for sale real estate agents homes for sale real estate agent homes for sale in Hawaii real estate agents finding a real estate agent find a real estate agent find real estate agent real estate agent homes for sales beach homes for sale Charleston real estate home for sale foreclosed homes for sale Real Estate Leads Miami real estate Austin Texas real estate Boca Raton real estate how to find a real estate agent Miami real estate Florida homes for sale find real estate agent top real estate agents FHA approved homes for sale top real estate agents real estate agents near me houses for sale best real estate agents Florida real estate homes for sale foreclosure homes for sale country homes for sale Alaska real estate homes for sale DC houses Florida homes for sale home for sale homes for sale DC beautiful homes for sale Charleston real estate bay area homes for sale find a real estate agent real estate agent foreclosed homes for sale houses FHA approved homes for sale Charleston real estate finding a real estate agent find homes for sale big homes for sale Austin Texas real estate how to choose a real estate agent top real estate agents house find homes for sale houses for sale in Florida real estate agents near me Florida real estate real estate agent reviews
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 11/11/2019 02:12
2
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 28/02/2020 03:41
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :