สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด ข้อที่ 1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและความสำคัญของการวางแผนการประชาสัมพันธ์ได้
2. อธิบายวิธีการวางแผนและขั้นตอนของการประชาสัมพันธ์ได้
3. เขียนโครงการและอธิบายวิธีการเขียนโครงการประชาสัมพันธ์ได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ( A ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2. มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. มีคุณธรรม เรื่อง วุฒิ 4 รับผิดชอบ ขยันซื่อสัตย์ อดทน อดออม มุ่งมั่นและทำงาน
ด้านทักษะ และขบวนการ ( P ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ขั้นตอนของการวางแผนการประชาสัมพันธ์
1. กำหนดเป้าหมาย
2. กำหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมาย
3. กำหนดจุดเด่นที่จะประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะเป็นหัวข้อ (Theme) ของการประชาสัมพันธ์ หรืออาจเป็นจ้อความ หรือคำขวัญ (Slogan) ที่แสดงถึงแก่น หรือสาระของกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการกำหนดให้รายละเอียดของกิจกรรมการประชาสัมพันธ์อยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน
4. กำหนดสื่อ หรือเทคนิคที่จะใช้
4.1 ลักษณะของสื่อ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น
4.1.1 สื่อที่สามารถควบคุมได้ (Control Media) หมายถึง สื่อที่สถาบัน หรือหน่วยงานสามารถควบคุมการผลิต และเผยแพร่ได้ เช่น แผ่นพับ จดหมายข่าว วารสารภายใน ภาพยนตร์โฆษณาสถาบัน เป็นต้น
4.1.2 สื่อมวลชน (Mass Media) ซึ่งเป็นสื่อที่ตามปกติแล้ว สถาบันไม่สามารถจะควบคุมเผยแพร่ได้โดยตรง แต่ต้องอาศัยสื่อมวลชนช่วยทำการเผยแพร่ให้ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
4.2 ประเภทของสื่อ ซึ่งจะแบ่งเป็นสื่อประเภทบุคคล สื่อมวลชน สื่อประเภท กิจกรรม สื่อประเภทเอกสารและสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์
4.3 เทคนิคของการให้ข่าว เช่น การจัดประชุมแถลงข่าว การนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถาบัน เป็นต้น
4.4 ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อ แต่ละลักษณะ และประเภท และเทคนิคการ ประชาสัมพันธ์
5. กำหนดงบประมาณ และกำลังคน
6. รอเริ่มการกระทำและกิจกรรมตามกำหนดเวลา
7. ทดลองนำแผนไปใช้ และตรวจแผน
8. จัดทำแผนปฏิบัติการ

ที่มา : http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage5/doc5_5.html