หน่วยการเรียนที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้
2. บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศได้
3. เปรียบเทียบพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบันได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ (ง 2.1)
2. มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
3. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต และ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมาและวิวัฒนาของการประชาสัมพันธ์
2. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
วิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้กำเนิดขึ้นอย่างเป็น ทางการเกินกว่ากึ่งศตวรรษแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เมื่อรัฐบาลได้ก่อตั้ง “กองโฆษณาการ” (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ของทางราชการให้แก่ประชาชน จากนั้นการประชาสัมพันธ์ก็ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ได้เริ่มขยายด้วยการตั้ง โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ เพื่อสอนและอบรมให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในงานด้านนี้ไปรับใช้สังคมมากขึ้นและมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการ ประชาสัมพันธ์ บทบาทของการประชาสัมพันธ์จึงมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ในการที่ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน ในขณะเดียวกันการประชาสัมพันธ์เปรียบ เสมือนประตูที่เปิดรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานนั้น ๆ ปัจจุบันงานด้านประชาสัมพันธ์ได้เป็นที่ยอมรับในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจเอกชนและสมาคมมูลนิธิ ต่าง ๆ มากขึ้น หน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าของภาครัฐทุกสถาบันของรัฐวิสาหกิจ หลาย ๆ ธุรกิจ เอกชนโดยเฉพาะสถาบันที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ประชาชนจำนวนมาก ต่างก็มีฝ่ายประชาสัมพันธ์และหรือผู้ปฏิบัติงาน/เจ้าหน้าที่ที่ทำงานทางด้านนี้โดยตรง
ไอวี่ลี (Ivy Lee) บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่
อวีลี บิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ ได้ให้แนวความคิดในการประชาสัมพันธ์ไว้ว่า งานประชาสัมพันธ์เป็นงานสร้างสรรค์ความราบรื่นให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เขามิได้เห็นแก่ประโยชน์ของนายจ้าง โดยมิได้นึกถึงลูกจ้างและประชาชนส่วนรวม เขาเคยขอร้องให้บริษัทยาสูบอเมริกาเริ่มใช้นโยบายแบบปันผลกำไรร่วมกันกับคนงาน ไม่ให้นายทุนได้กำไรแต่กลุ่มเดียว แนะนำให้บริษัทรถไฟสร้างสถานีให้สวยงาม รักษาความสะอาด ติดตั้งเครื่องรักษาความปลอดภัย จ่ายค่าแรงให้สูงขึ้น เพื่อเป็นสวัสดิการกระจายรายได้และเกิดความเป็นธรรม ตลอดจน ให้รับฟังการร้องทุกข์และข้อคิดเห็นจากพนักงานและลูกค้าในลักษณะติดต่อสื่อสัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย เขาได้สนับสนุนให้รอคกี้ เฟลเล่อร์ สร้างศูนย์รอคกี้เฟลเล่อร์ขึ้นที่ นครนิวยอร์ก เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมของมหานครนิวยอร์ก ให้ลงทุนรักษาเมืองวิลเลี่ยมส์เบิร์ก เพื่อการศึกษาให้ประโยชน์แก่สังคมและอนุชนในภายหน้า ที่สำคัญคือ เขาขอร้องให้ท่านเศรษฐีพูด “ความจริง” เสมอความเป็นธรรม ถูกต้อง มีความเป็นจริง ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งเพื่อประโยชน์ของสังคมประชาชนส่วนรวมตัวเป็นที่ตั้ง ลักษณะเช่นนั้นจะไม่สามารถทำให้สถาบันมีอายุยืนยาวรับใช้สังคมประชาชนได้ตลอดไปชั่วนิรันดร์

ขอขอบคุณ http://thitisan1.myreadyweb.com/article/topic-17249.html
|